สำนวนไทย สุภาษิต คำพังเพย

Posted by Sea Pearl

อดเปรี้ยวกินหวาน - ให้ละทิ้งสิ่งที่ไม่ดีนั้นเสีย เพื่อรับเอาสิ่งที่ดีเข้าไว้ ถึงแม้ว่าจะต้องใช้เวลาอดใจรออยู่นาน

อยู่บ้านท่านอย่านิ่งดูดาย ปั้นวัวปั้นควายให้ลูกท่านเล่น - เมื่ออาศัยอยู่บ้านใคร ก็อย่าอยู่เปล่า ควรช่วยทำงานทำการให้เป็นประโยชน์ต่อเขาบ้าง

อัฐยายซื้อขนมยาย - การได้รับประโยชน์หรือได้รับทรัพย์จากผู้ใดผู้หนึ่ง แล้วเอาทรัพย์นั้นมาใช้กับผู้นั้นต่อ

เอาจมูกคนอื่นมาหายใจ - อาศัยความคิดหรือแรงของคนอื่นมาทำงานให้ตน

เอาใจเขามาใส่ใจเรา - สำนวนนี้ มุ่งให้คำนึงว่า ควรจะมีความเห็นใจซึ่งกันและกัน หรือนึกถึงอกเขาอกเราบ้าง ว่าตัวเราจะรู้สึกอย่างไร ถ้าเขาทำอย่างนั้นกับเรา.

เอาทองไปรู้กระเบื้อง - ลดตัวเองลงไปต่อสู้กับคนที่ต่ำศักดิ์กว่า โดยไม่คู่ควรกัน

อ้อยเข้าปากช้าง - สิ่งที่หลุดลอยไปเป็นของคนอื่นแล้ว ก็ย่อมจะสูญหรือไม่มีทางจะได้คืนมาง่าย ๆ

อ้าปากก็เห็นลิ้นไก่ - รู้เท่าทันคำพูดที่พูดออกมา

อาบน้ำต่างเหงื่อ - ทำงานหนัก

อาบน้ำร้อนมาก่อน - เกิดก่อนจึงได้รู้เห็นสิ่งต่างๆมามากกว่า

หมากัดอย่ากัดหมา - คนชั่ว คนชั้นต่ำ หรือพวกอันธพาลคิดร้ายหรือประทุษร้ายเราอย่างใดอย่าทำตอบ แต่ควรหลีกเลี่ยงไปเสีย.

หมาเห่าใบตองแห้ง - คนที่ชอบเอะอะโวยวายเป็นที่อวดตัวว่า ตนเก่งกล้า แต่แท้จริงแล้วกลับเป็นคนขี้ขลาด

หมูจะหาม เอาคานเข้ามาสอด - การที่เข้าไปขัดขวางผลประโยชน์ หรือกิจการของคนอื่นที่เขากำลังจะสำเร็จอยู่แล้ว

หุงข้าวประชดหมา ปิ้งปลาประชดแมว - การทำประชดหรือทำแดกดันที่กลับเป็นผลร้ายแก่ตนเอง

เห็นกงจักรเป็นดอกบัว - เห็นสิ่งที่ไม่ดีเป็นดี หรือเห็นผิดเป็นชอบ

เห็นขี้ดีกว่าไส้ - เห็นคนอื่นดีกว่าญาติพี่น้องของตน

หว่านพืชหวังผล - การลงทุนทำอะไรสักอย่างหนึ่ง ก็ย่อมจะต้องหวังผลประโยชน์ตอบแทน

เหยียบเรือสองแคม - คนที่ทำอะไรไม่ซื่อตรง และเป็นคนเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัว

เหยียบเต่าเต็มตีน - ทำอะไรให้มั่นคงอย่าให้เกิดมีข้อผิดพลาดถึงเสียงานเสียการได้

หาเหาใส่หัว - หาความลำบากมาใส่ตัวเองหรือเอาเรื่องของคนอื่นมาเป็นเรื่องที่ทำให้เกิดความเดือดร้อนแก่ตัวเอง

สอนจระเข้ว่ายน้ำ - การชี้ทางหรือสอนให้คนที่เป็นอยู่แล้วให้เก่งหรือชำนาญขึ้นไปอีก แต่มักมุ่งหมายโดยเฉพาะถึงการสอน หรือแนะนำคนชั่วประพฤติไม่ดีส่วนมาก.

สอนหนังสือสังฆราช - การสอนผู้ที่มีความรู้ดีเป็นเยี่ยมอยู่แล้ว โดยที่ไม่รู้ว่าคนผู้นั้นรู้หรือชำนาญดีกว่าตนเสียอีก

สัญชาติสุนัข อดขี้ไม่ได้ - คนที่ประพฤติชั่ว ถึงจะเอามาอบรมเลี้ยงดูดีอย่างไร ก็อดประพฤติเช่นเดิมไม่ได้

สมภารกินไก่วัด - เป็นสำนวนเปรียบเทียบที่มุ่งหมายโดยเฉพาะ ถึงผู้ชายที่มีตำแหน่งเป็นหัวหน้าหรือผู้บังคับบัญชาที่มีหน้าที่ปกครองดูแลหญิงสาวหลาย ๆ คนภายในบ้านหรือภายในวงงาน แล้วก็ถือโอกาสเกี้ยวพาเอาหญิงสาวเหล่านั้น

สร้างวิมานในอากาศ - การสร้างความฝันว่าตนเองจะต้องได้เป็นใหญ่หรือ มีเงินทองมั่งมีขึ้นแล้วจะทำอย่างนั้นอย่างนี้ให้สมกับที่มีเงิน โดยที่ความใฝ่ฝันนั้นยังไม่แน่ว่าจะได้รับสมจริงหรือเปล่า

สาดน้ำรดกัน - การทะเลาะทุ่มเถียงด่าทอโต้ตอบกันไปมา

สาวไส้ให้กากิน - การที่เอาความลับหรือเรื่องไม่ดีของตนเองหรือของพี่น้องของตนไปเปิดเผยให้คนอื่นฟัง โดยไม่ได้ประโยชน์อะไรแก่ตนเองเลย.

สิบเบี้ยใกล้มือ - อะไรที่ควรจะได้และอยู่ใกล้หรือเป็นสิ่งที่คว้าได้ง่าย ก็ควรจะคว้าไว้ก่อนดีกว่าที่จะมองข้ามไป

สิบปากว่าไม่เท่าตาเห็น


วัวแก่กินหญ้าอ่อน - ชายแก่ที่มีภรรยาสาวคราวลูกคราวหลาน

วัวเคยขา ม้าเคยขี่ - ชายหญิงที่เคยมีสัมพันธ์กันมา ย่อมรู้จิตใจกันดีอยู่แล้ว.

วัวไม่กินหญ้าอย่าขมเขา - อย่าบังคับหรืออย่าฝืนให้เขาทำอะไรในสิ่งที่เขาไม่สมัคใจ.

วัวสันหลังขาด - คนที่มีอะไรพิรุธหรือมีการกระทำไปแล้ว ในทำนองไม่สู่ดี

วัวหายล้อมคอก - เมื่อเกิดเรื่องเกิดราวถึงขั้นเสียหายขึ้นเสียก่อน แล้วจึงค่อยมาคิดแก้ภายหลัง

วัวลืมตีน - สำนวนนี้ ใช้เป็นความหมายเปรียบเทียบถึงคนที่ไม่เจียมตัว หรือมีศักดิ์ต่ำแต่คิดเห่อเหิมจะทำตัวให้เทียมหน้าเขา

วัวเห็นแก่หญ้า ขี้ข้าเห็นแก่กิน - คนที่ตะกละตะกลาม หรือเห็นแก่กินอย่างเดียว มักมุ่งหมายถึงคนชั้นต่ำที่ทำอะไรเห็นแต่ได้เกินไป.


วันพระไม่มีหนเดียว

- วันข้างหน้ายังมีโอกาส





ไว้ใจทาง วางใจคน จนใจเอง

- อย่าไว้ใจทั้งในเรื่องหนทาง หรือการเดินทางและในเรื่องจิตใจของคนอื่น ๆ ให้มากนัก



ว่าแต่เขาอิเหนาเป็นเอง


- ว่าหรือสั่งสอนคนอื่นไม่ให้ทำ แต่กลับทำเอง

สำนวนหมวดอักษร ล
ลงรอยกัน
- เข้ากันได้



ล้ำหน้า
- เกินเลยไปกว่าที่ควร



เล็กพริกขี้หนู
- เล็กแต่มีความสามารถ



ล้วงคองูเห่า

- คนที่ทำอะไรองอาจล่วงล้ำ หรือกล้าเข้าไปทำอะไรแก่ผู้ที่มีอำนาจเหนือกว่า



ละเลงขนมเบื้องด้วยปาก

- คนที่ดีแต่พูดแต่จะให้ทำจริง ๆ กลับทำไม่ได้



เลือดขึ้นหน้า
- โมโห



ลิงหลอกเจ้า

- คนที่ต่อหน้าผู้ใหญ่ก็ทำตัวเรียบร้อย แต่ลับหลังซนเป็นลิงเป็นค่าง



ลางเนื้อชอบลางยา

- แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน



เลี้ยงช้างกินขี้ช้าง

- ผู้ที่ทำหน้าที่อะไรก็ตามแต่แล้วพลอยได้มีส่วนผลประโยชน์จากหน้าที่ ที่ตนทำอยู่นั้น โดยไม่บริสุทธิ์นัก หรือไปในทำนองที่ไม่ชอบธรรม



ลงเรือแปะ ตามใจแปะ

- เมื่อไปอยู่กับใคร หรือไปอาศัยอยู่บ้านใคร ก็ต้องเกรงใจหรือยอมทำตามเขา
สำนวนหมวดอักษร ร
รวบหัวรวบหาง
- รวบรัดให้สั้น ฉวยโอกาสเมื่อมีช่องทาง



รอดปากเหยี่ยวปากกา
- รอดพ้นจากอันตรายมาได้



รักวัวให้ผูกรักลูกให้ตี

- จะเลี้ยงดูลูกให้ดีต้องดูแลใกล้ชิด ไม่ปล่อยปละละเลย





รักพี่เสียดายน้อง

- ลังเลใจ ตัดสินใจไม่ถูกว่าจะเลือกอย่างไหนดี



เรือล่มในหนองทองจะไปไหน

- คนในเครือญาติแต่งงานกัน ทำให้ทรัพย์มรดกไม่ตกไปอยู่กับผู้อื่น



เรือล่มเมื่อจอด

- มีอุปสรรคเมื่อใกล้จะสำเร็จหรือเสียคนเมื่อแก่



รีดเลือดกับปู

- เคี่ยวเข็ญหรือบังคับเอากับผู้ที่ไม่มีทางจะให้



รำไม่ดีโทษปี่โทษกลอง

- ตนเองทำไม่ถูกไม่ดี แต่กลับไปซัดโทษเอาผู้ร่วมงานหรือผู้อื่น



ราชสีห์สองตัวอยู่ถ้ำเดียวกันไม่ได้

- คนสองคนที่ต่างก็มีอำนาจ หรืออิทธิพลยิ่งใหญ่เท่ากัน ย่อมจะอยู่ร่วมกันไม่ได้



รู้หลบเป็นปลีก รู้หลีกเป็นห่าง

- การรู้จักหลบหลีกเอาตัวรอดจากภัยต่าง ๆ ไปได้

สำนวนหมวดอักษร ม
มะกอกสามตะกร้าปาไม่ถูก

- กลับกลอกจนคนอื่นจับไม่ได้





มะนาวไม่มีน้ำ

- พูดเสียงแข็งกระด้างอย่างไม่มีน้ำใจไมตรี



มัดมือชก

- ใช้วิธีบังคับให้จำยอม



มาเหนือเมฆ

- ใช้วิธีการที่เหนือผู้อื่น



ม้าดีดกะโหลก

- มีกิริยาท่าทางกระโดกกระเดกลุกลนไม่เรียบร้อย



เมื่อพีเนื้อหอม เมื่อผอมเนื้อเหม็น

- เวลารวยคนเข้ามาห้อมล้อมประจบประแจง เวลาจน คนพากันตีตัวออกห่าง



มือไม่พายเอาเท้าราน้ำ

- ไม่ช่วยทำงานแล้วยังกีดขวาง ทำให้งานไม่ก้าวหน้า



ไม่รู้จักหัวนอนปลายตีน
- ไม่รู้พื้นเพ ความเป็นมา



ไม่ดูดำดูดี
- เลิกเกี่ยวข้องด้วย



มากหน้าหลายตา
- มากมาย
สำนวนหมวดอักษร ป
ปล่อยเนื้อปล่อยตัว

- ไม่สนใจจะแต่งตัว หรือไม่สงวนตัว

ปล่อยเสือเข้าป่า

- ปล่อยศัตรูไปอาจกลับมาทำร้ายภายหลัง

ปลาข้องเดียวกัน

- คนที่อยู่ร่วมกัน หากมีคนหนึ่งทำไม่ดี ก็พลอยให้คนอื่นเสียไปด้วย

ปลาตายน้ำตื้น

- คนที่ทำพลาดเพราะเหตุเล็กน้อย

ปลาหมอตายเพราะปาก

- คนที่พูดพล่อยจนเป็นอันตรายแก่ตนเอง

ปลาใหญ่กินปลาเล็ก

- คนที่มีอำนาจหรือมีกำลัง เอาเปรียบผู้อ่อนแอกว่า

ปากบอน

- คนที่ชอบพูดฟ้องเรื่องคนอื่น

ปอกกล้วยเข้าปาก

- ทำได้ง่ายหรือสะดวก

ปั้นน้ำเป็นตัว

- โกหก สร้างเรื่องขึ้นมาโดยไม่มีมูลความจริง

ปากว่าตาขยิบ

- พูดว่าไม่ดีแต่กลับสนับสนุนหรือทำสิ่งที่ว่าไม่ดีนั้น


สำนวนหมวดอักษร น
น้ำขึ้นให้รีบตัก

- มีโอกาสดีควรรีบทำ



น้ำท่วมทุ่ง ผักบุ้งโหรงเหรง

- พูดมากแต่ได้เนื้อหาสาระน้อย



น้ำท่วมปาก

- พูดไม่ได้เพราะความจำเป็นบังคับ



น้ำน้อยแพ้ไฟ

- ฝ่ายข้างน้อยย่อมแพ้ฝ่ายข้างมาก



น้ำผึ้งหยดเดียว

- สิ่งเล็กน้อยก็ทำให้เกิดเรื่องใหญ่ได้



น้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่า

- คนเราจำเป็นต้องพึ่งพาอาศัยกันและกัน



นิ้วไหนร้ายตัดนิ้วนั้น

- คนใดไม่ดีก็ตัดออกไปจากหมู่คณะ



เนื้อเต่ายำเต่า

- การเอาทรัพย์สินส่วนตัวที่เป็นกำไรหรือดอกเบี้ยกลับไปลงทุนต่อไปอีกโดยไม่ต้องใช้ทุนเดิม



นกน้อยทำรังแต่พอตัว

- การจะทำสิ่งใดควรทำแต่พอสมฐานะของตนเอง

น้ำลดต่อผุด

- เมื่อหมดอำนาจความชั่วที่ทำไว้ก็ปรากฏ

สำนวนหมวดอักษร ต
ตกนรกทั้งเป็น
ลำบากแสนสาหัส

ตักน้ำรดหัวตอ

- แนะนำพร่ำสอนเท่าไหร่ก็ไม่ได้ผล

ตกเป็นเบี้ยล่าง
ตกเป็นรอง

ตบตา
ลวงให้เข้าใจผิด

ตบหัวลูบหลัง
- ทำหรือพูดให้กระทบกระเทือนใน ในตอนแรก แล้วปลอบใจตอนหลัง

ต่อปาก ต่อคำ
เถียงกันไม่จบสิ้น

ต้นร้าย ปลายดี
- ตอนแรกไม่ดี ไปดีเอาตอนหลัง

ตัวเป็นเกลียว
ขยันทำงาน

ตาร้อน
- อิจฉาริษยา

ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ

- ใช้จ่ายทรัพย์มากมายโดยไร้ประโยชน์


สำนวนหมวดอักษร ด
ดอกพิกุลร่วง

ตัวอย่าง

" ครูถามอะไรก็ไม่ตอบ กลัวดอกพิกุลร่วงหรือยังไง "

ดอกไม้ริมทาง

- หญิงที่ชายเกี้ยวพาราสีได้ง่าย

ดาบสองคม

- สิ่งที่มีทั้งคุณและโทษ

ตัวอย่าง

" เพศศึกษาเป็นความรู้ที่เหมือนดาบสองคม ถ้าสอนให้ดีเด็กก็จะนำความรู้ไปใช้ได้อย่างเหมาะสม แต่ถ้าไม่ระวังเด็กก็อาจจะเอาความรู้นั้นไปใช้ในทางที่ผิด กลับเป็นโทษแก่ตัวเด็กเองได้ "

ดาวล้อมเดือน

ตัวอย่าง

" ดูนายกของเราสิ มีบริวารล้อมหน้าล้อมหลังเป็นดาวล้อมเดือนเลย "

เด็กเมื่อวานซืน


มีความรู้และประสบการณ์น้อย
เด็กอมมือ

- ไม่ประสีประสา


เด็ดดอกฟ้า

- ได้หญิงสูงศักดิ์มาเป็นภรรยา







ได้น้ำได้เนื้อ
- ได้งานมาก


ได้หน้าได้ตา

- ได้ชื่อเสียงเกียรติยศ



ดินพอกหางหมู


- การงานที่คั่งค้างขึ้นเรื่อยๆ



สำนวนหมวดอักษร ช
ชักใบให้เรือเสีย
- พูดหรือทำให้คนอื่นเขวออกไปนอกเรื่อง

ตัวอย่าง

"ครูกำลังสั่งการบ้าน นักเรียนอย่าชักใบให้เรือเสียซิ เรื่องอื่นไว้คุยทีหลัง"



ชักแม่น้ำทั้งห้า
- พูดจาหว่านล้อม ยกยอบุญคุณขอสิ่งประสงค์

ตัวอย่าง

"จะเอาอะไรก้บอกมาตรงๆ ไม่ต้องชักแม่น้ำทั้งห้า ขี้เกียจฟัง"

ชักใย
- บงการอยู่เบื้องหลัง

ชั่วเจ็ดทีดีเจ็ดหน
- ทุกข์สุข ย่อมเกิดขึ้นสลับกันไป

ตัวอย่าง

"อย่าเสียใจไปเลย คราวนี้ขาดทุน คราวหน้าคงได้กำไรคนเรา ชั่วเจ็ดทีดีเจ็ดหน"

ชั่วนาตาปี
- ตลอดไป

ชาติเสือจับเนื้อกินเอง
- ไม่เบียดเบียนใคร

ชายหาบหญิงคอน
- ช่วยกันทำมาหากิน

ช้างเท้าหลัง
- ผู้ที่ต้องเดินตามผู้นำ อาจหมายถึงภรรยาต้องทำตามสามี

ช้างเผือกเกิดในป่า
- ผู้มีปัญหาหรือคนดีนั้นหายาก

ชุบมือเปิบ
- ฉวยโอกาสจากคนอื่นโดยไม่ลงทุน

สำนวนหมวดอักษร จ
จมไม่ลง
- เคยรุ่งเรืองใหญ่โต เมื่อตกอับก็ยังทำตัวเหมือนเดิม ไม่ยอมปรับตัวให้เหมาะกับฐานะของตน

ตัวอย่าง

"สิ้นสามีแล้วภรรยาและลูกๆยังจมไม่ลง ทำตัวเหมือนเดิม ทั้งๆทีไม่มีรายได้อะไร ไม่ช้าคงล้มละลายแน่"

จรกาหน้าหนู
- เข้าพวกกับใครไม่ได้

จระเข้ขวางคลอง
- ทำตัวกีดขวางผู้อื่น จนก่อให้เกิดความรำคราญ

จับดำถลำแดง
- มุ่งอย่างหนึ่งไปได้อีกอย่างหนึ่ง

ตัวอย่าง

"ฉันอุตส่าห์เลือกอย่างดีแล้ว ทำไมจึงจับดำถลำแดงไปหยิบของมีตำหนิมาได้"

จับตัววางตาย
- กำหนดแน่นอนไม่เปลี่ยนแปลง

จับปลาสองมือ
- ทำอะไรหลายอย่างในเวลาเดียวกันอาจไม่สำเร็จซักอย่าง

ตัวอย่าง

"เธอทำงานสำคัญหลายอย่างพร้อมกัน จับปลาสองมือแบบนี้ระวังจะชวดหมด"

จับปูใส่กระด้ง
- ซุกซนไม่อยู่ในระเบียบ

จับพลัดจับผลู
- จับผิดจับถูก ไม่ได้ดังใจ

จับแพะชนแกะ
- ทำอย่างขอไปที ไม่ได้อย่างนี้เอาอย่างนั้น

จับไม่ได้ไล่ไม่ทัน
- ยืนยันหาคนทำผิดไม่ได้
สำนวนหมวดอักษร ง
งงเป็นไก่ตาแตก
- สับสนจนทำอะไรไม่ถูก ไม่เข้าใจเรื่องที่เกิดขึ้น

ตัวอย่าง

"เขาถูกกล่าวหาอย่างรุนแรงว่าเป็นเหตุยุยงภรรยาคู่นั้นแตกแยกกัน ทั้งๆที่เขาไม่รู้เรื่องอะไรเลย เขาจึงงงเป็นไก่ตาแตก"



งอมแงม
- เลิกได้ยาก

งอมพระราม
- ทุกข์เต็มทน

ตัวอย่าง

"เขาเป็นครูอาสาที่ต้องไปทำงานสอนหนังสือเด็กชาวเขาในถิ่นถุรกันดารนานถึง10ปี ต้องทนทุกข์ยากอละอุปสรรคต่างๆ อย่างแสนสาหัสเรียกว่า งอมพระรามเลยทีเดียว"



งูกินหาง
- เกี่ยวกันเป็นวงจนหาที่สิ้นสุดไม่ได้

ตัวอย่าง

"ฉันเบื่อการทวงหนังสือคืนแล้วหละ ทวงคนนี้บอกว่าอยู่ที่คนนั้น ทวงคนนั้นบอกว่าอยู่ที่คนโน้น ไม่สิ้นสุดราวกับงูกินหางเลยทีเดียว"

งูๆปลาๆ
- มีความรู้เล็กๆน้อยๆ ไม่รู้จริง

ตัวอย่าง

"จะให้ไปทำงานกับฝรั่งได้อย่างไร ภาษาอังกฤษของฉันงูๆปลาๆ"



เงาตามตัว
- ผู้ที่ไปไหนมาไหนด้วยกันตลอด หรือ ผลของการกระทำที่เกิดตามติดมาทันที

ตัวอย่าง

"ตั้งแต่คบกันเขาตามฉันทุกฝีก้าวราวกับเงาตามตัว "

เงียบเป็นเป่าสาก
- เงียบสนิท

เงื้อง่าราคาแพง
- ไม่กล้าตัดสินใจ

โง่แกมหยิ่ง
- โง่อวดฉลาด

โง่เง่าเต่าตุ่น
- โง่ที่สุด

ตัวอย่าง

"ครูอย่าไปว่านักเรียนโง่เง่าเต่าตุ่นเชียวนะ เด็กจะเสียกำลังใจ"
สำนวนหมวดอักษร ค
คนดีผีคุ้ม

- คนทำดีมักไม่มีภัย

ตัวอย่าง

"นายอำเภอแหวนเพชรคนนี้ ดูแลราฎรใกล้ชิดไปหาได้ทุกเวลาทั้งกล้าหาญออกปราบโจรจนราบคาบ พวกอันธพาลหาทางเก็บแต่ไม่สำเร็จคล้าดแคล้วทุกที คนดีผีคุ้ม"



คมในฝัก

- ผู้มีความรู้ความสามารถ แต่เมื่อยังไม่ถึงเวลาก้ไม่แสดงออกมาให้ปารกฎ

ตัวอย่าง

"เขาเป็นคนเฉยๆแต่เมื่อแสดงความคิดเห็นออกมาครั้งใดทุกคนยอมรับ นี้แหละคนคมในฝัก"





คลุมถุงชน

- การแต่งงานที่ผู้ใหญ่จัดให้โดยที่ผู้แต่งงานไม่เคยรู้จักกัน และไม่มีโอกาสเลือกคู่ครองเอง

ตัวอย่าง

"ทุกวันนี้การแต่งงานแบบคลุมถุงชนไม่มีแล้วเพราะ พ่อแม่บังคับลูกไม่ได้เหมือนสมัยก่อน"





คว้าน้ำเหลว

- การทำสิ่งใดด้วยความตั้งแล้วไม่สำเร็จ ไม่ได้ผลตามที่ต้องการ

ตัวอย่าง

"ข่าวว่ามีกรุสมบัติของสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง ซ้อนอยู่ในถ้ำลิเจียจังหวัดกาญจนบุรี ทำให้มีผู้พยายามไปขุดหาสมบัติเหล่านี้หลายครั้งหลายหน แต่ก็คว้าน้ำเหลวทุกที"



คว่ำบาตร

- ประกาศไม่ยอมคบค้าสมาคมด้วยไม่ร่วมงานด้วย

ตัวอย่าง

"สหประชาชาติประกาศคว่ำบาตรประเทศนั้นกรณีลุกลามประเทศอื่น "





คางคกขึ้นวอ

- คนมีฐานะต่ำต้อย พอได้ดีแล้วก็มักแสดงกิริยาอวดดีลืมตัว

ตัวอย่าง

"แต่ก่อนเคยอยู่สลัมมาด้วยกันแต่พอแต่งงานกับเศรษฐีท่าทางเธอก็เปลี่ยนไป พบหน้าเพื่อนเอก็ทำเชิดหยิ่ง ไม่ยอมทักทายทำเหมือนคางคกขึ้นวอไม่มีผิด"



คาบลูกคาบดอก

-ไม่แน่ว่าจะเป็นอย่างไหน ก่ำกึ่งกันอยู่

ตัวอย่าง

"นักกีฬาคนนั้นชอบเตะฟุตบอลตคาบลูกคาบดอกคือเตะทั้งลูกทั้งคน "



คืบก็ทะเลศอกก็ทะเล

- อย่าประมาททะเลเพราะอาจเกิดอันตรายได้ทุกเมื่อ

ตัวอย่าง

"แต่เผอิญคืนนี้หลับไปแล้วให้เกิดวิตกวิจารณ์ขึ้นมาว่าคืบก็ทะเลศอกก็ทะเลพลาดพลั้งเข้าก็จะอด "



คู่แล้วไม่แคล้วกัน

- คู่ที่เคยสร้างบุญกุศลร่วมกัน เคยเป็นคู่กันมาก่อนย่อมไม่แคล้วคลาดกัน

ตัวอย่าง

"บ่าวสาวคู่นี้มีอุปสรรคมากมายกว่าจะได้แต่งงานกันแต่ทั้งคู่ก็สามารถฟันฝ่าปัญหาต่างๆมาจนมีวันนี้ได้สมกับคำที่ว่า คู่แล้วไม่แคล้วกัน"



คลื่นกระทบฝั่ง

- เรื่องที่เกิดขึ้นอย่างครึกโครม ทำท่าจะเป็นเรื่องใหญ่ แต่แล้วกลับเงียบหายไป

ตัวอย่าง

" คดีนี้ทำท่าจะเป็นคลื่นกระทบฝั่ง อีกสักพักคนก็ลืม"

สำนวนหมวดอักษร ข
ขนทรายเข้าวัด

- ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำ หรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวม

ตัวอย่าง

"คุณหญิงท่านจัดงานคอนเสิร์ตครั้งนี้เพื่อขอรับบริจาคเงินให้มูลนิธิของโรงพยาบาลซึ่งท่านเป็นกรรมการอยู่ด้วย เหมือนขนทรายเข้าวัด ช่วยๆกันไปเถอะ เป็นสาธารณกุศล"

ขนมพอสมกับน้ำยา - เสมอกัน

ตัวอย่าง "พูดกันตรงๆ ฉันว่าคู่นี้มันขนมพอสมกับน้ำยา อย่าไปเข้าข้างคนไหนเลย"

ขนหน้าแข้งไม่ร่วง
- ไม่กระทบกระเทือนถึงเดือดร้อน

ตัวอย่าง

"เธอมีเงินติดกระเป๋าตั้งหลายหมื่น ขอยืมมาซื้อของก่อนซักห้าร้อย ขนหน้าแข้งไม่ร่วงหรอกน่ะ"



ขวานผ่าซาก

- พูดตรงเกินไปโดยไม่เลือกกาลเทศะและบุคคล

ตัวอย่าง

"เขาเป็นคนพูดขวานผ่าซาก เจ้านายจึงไม่โปรด"





ข้าวยากหมากแพง

- สภาวะขาดแคลนเกิดความอดอยาก

ตัวอย่าง

"สมัยสงครามข้าวยากหมากแพง ผู้คนอดอยากล้มตายไปจำนวนไม่น้อย"



ข้าวใหม่ปลามัน

- อะไรที่เป็นของใหม่ถือว่าดี

ตัวอย่าง

"ได้หัวหน้างานคนใหม่อะไรก้ดีไปหมด กำลังข้าวใหม่ปลามัน"



ขี่ช้างจับตั๊กแตน

- ลงแรงมากแต่ได้ผลน้อยไม่คุ้มค่า

ตัวอย่าง

"การประชุมครั้งนี้เหมือนขี่ช้างจับตั๊กแตน เสียงบประมาณไปมากมายแต่หาข้อยุติไม่ได้"





เข้าตามตรอกออกตามประตู

- ทำตามธรรมเนียม ประเพณี

ตัวอย่าง

"ถ้าเขารักลูกจริง ก็ให้สู่ขอตามประเพณี เข้าตามตรอกออกตามประตู พ่อแม่ก็ไม่คิดจะเรียกร้องอะไร"



เข้าเนื้อ

- ขาดทุน เสียเปรียบ

ตัวอย่าง

"ขายของต้องคำนวณต้นทุนให้ดีถ้าตั้งราคาผิดอาจต้องเข้าเนื้อ "



เขียนเสือให้วัวกลัว

- ทำเป็นขู่ให้เสียขวัญหรือเกรงขาม

ตัวอย่าง

"ไม่ต้องเอาคนใหญ่คนโตมาอ้างกับฉัน อย่ามาเขียนเสือให้วัวกลัว ไม่สำเร็จหรอก"


สำนวนหมวดอักษร ก
กบในกะลาครอบ

- คนที่ขาดวิสัยทัศน์มองเห็นแต่สิ่งที่อยู่ใกล้ตัวเท่านั้น

ตัวอย่าง

"เธออยู่แต่ในบ้าน ทีวีก็ไม่ดู หนังสือพิมพ์ก็ไม่ชอบอ่าน เหมือนกบในกะลาครอบ"

กรวดน้ำคว่ำขัน - ตัดขาดไม่คบค้าสมาคนด้วยอีกต่อไป
ตัวอย่าง
"เพื่อนตัวแสบโกงเงินฉันไปเป็นแสนๆ ฉันน่ะกรวดน้ำคว่ำขันเลย"


กระดูกร้องไห้

- การจับตัวฆาตกรมาลงโทษได้หลังจากพบหลักฐานโดยบังเอิญ

ตัวอย่าง

"คดีฆาตกรรมนี้เหมือนกระดูกร้องไห้เลยนะ ใครจะนึกว่าจะจับตัวฆาตกรได้ เรื่องล่วงเลยมาถึงสิบปีแล้ว"


กระต่ายตื่นตูม - ตื่นกลัวเกินกว่าเหตุ

ตัวอย่าง "เธออย่าทำตัวเป็นกระต่ายตื่นตูมไปหน่อยเลย เรื่องมันยังไม่เกิด อาจไม่ร้ายแรงอย่างที่คิดก็ได้"

กระต่ายหมายจันทร์

- ชายที่หลงรักหญิงที่สูงส่งกว่าตนและไม่มีทางที่ความรักจะสมหวัง

ตัวอย่าง

"เขาทำตัวเป็นกระต่ายหมายจันทร์ หลงรักลูกสาวเศรษฐี คงจะสมหวังอยู่หรอก"

กระโถนท้องพระโรง

- ผู้ที่ใครๆก็ใช้งานได้ และเป็นที่ระบายอารมณ์ของทุกคน

ตัวอย่าง

"เอะอะก็มาลงที่ฉัน ฉันไม่ใช่กระโถนท้องพระโรงนะ"





กว่าถั่วจะสุกงาก็ไหม้ - การทำอะไรสองอย่างพร้อมกันโดยไม่รอบคอบหรือชักช้า อาจเกิดความเสียหายได้

ตัวอย่าง "ปัญหายาเสพติดในสถานศึกษากำลังรุนแรงขึ้น น่าจะมีมาตรการเร่งด่วนเพื่อแก้ปัญหานี้ ไม่ใช่มัวแต่รอให้ครูสอนให้นักเรียนตระหนักถึงโทษของยาเสพติด เด็กอาจติดยาไปแล้ว กว่าถั่วจะสุกงาก็ไหม้"

กินน้ำใต้ศอก

- เสียเปรียบ จำต้องเป็นรอง คอบรับเดนคนอื่น

ตัวอย่าง

"ถึงจะรักเขามากแค่ไหนฉันก็ไม่ยอมกินน้ำใต้ศอกใคร "





กินน้ำเห็นปลิง

- ตะขิดตะขวงใจเมื่อจะทำอะไรซักอย่าง

ตัวอย่าง

"จะให้เราเลือกเขาเป็นศิษย์เก่าดีเด่นได้อย่างไร มันเหมือนกินน้ำเห็นปลิงเพราะรู้ทั้งรู้ว่าเขาฉ้อราษฎร์บังหลวง"





เกลือเป็นหนอน

- คนในบ้านหรือพวกเดียวกัน คิดคดทรยศ

ตัวอย่าง

"แผนการที่เราวางไว้ฝ่ายตรงข้ามรู้หมด สงสัยเกลือเป็นหนอน"

คำราชาศัพท์หมวดต่างๆ

Posted by Sea Pearl

1. หมวดร่างกาย

หน้าผาก = พระนลาฎ แก้ม = พระปราง
ตา = พระเนตร นิ้วหัวแม่มือ = พระอังคุฐ
จมูก = พระนาสิก นิ้วชี้ = พระดัชนี
ปาก = พระโอษฐ์ นิ้วกลาง = พระมัชฌิมา
ฟัน = พระทนต์ นิ้วนาง = พระอนามิกา
เขี้ยว = พระทาฐะ นิ้วก้อย = พระกนิษฐา
ลิ้น = พระชิวหา เล็บ = พระนขา
หู = พระกรรณ รักแร้ = พระกัจฉะ
ไหปลาร้า = พระรากขวัญ ท้อง = พระอุทร
บ่า = พระอังสะ สะดือ = พระนาภี
มือ = พระหัตถ์ สีข้าง = พระปรัศว์
หลัง = พระปฤษฎางค์ ตะโพก = พระโสณี
ตัก = พระเพลา เข่า = พระชานุ
เท้าทั้งคู่ = พระยุคลบาท ไต = พระวักกะ
ตับ = พระยกนะ ปอด = พระปับผาสะ

2. หมวดเครื่องอุปโภค บริโภค

ตรา = พระราชลัญจกร กระโถนใหญ่ = พระสุพรรณราช
พานหมาก = พานพระศรี กระโถนเล็ก = พระสุพรรณศรี
หมวก = พระมาลา แว่นตา = ฉลองพระเนตร
ร่ม = พระกลด มีดโกน = พระแสงกรรบิด
ช้อน = ฉลองพระหัตถ์ช้อน น้ำหอม = พระสุคนธ์
ข้าว = พระกระยาเสวย ยาถ่าย = พระโอสถประจุ
เหล้า = น้ำจัณฑ์ หม้อน้ำ = พระเต้า
ม่าน = พระวิสุตร ประตู = พระทวาร
ปิ่น = พระจุฑามณี ปืน = พระแสงปืน

3. หมวดขัตติยตระกูล

ปู่ , ตา = พระอัยกา ย่า ยาย = พระอัยกี
ลุง (พี่ของพ่อ) = พระปิตุลา ป้า (พี่ของพ่อ) = พระปิตุจฉา
ลุง (พี่ของแม่) = พระมาตุลา ป้า (พี่ของแม่) = พระมาตุจฉา
อาชาย = พระปิตุลา อาหญิง = พระปิตุจฉา
พ่อ = พระชนก แม่ = พระชนน
บุตรชาย = พระโอรส บุตรสาว = พระธิดา

หลาน = พระนัดดา เหลน = พระนัดดา
สามี = พระสวามี ภรรยา = พระมเหสี
พ่อตา = พระสัสสุระ แม่ยาย = พระสัสสุ
ลูกเขย = พระชามาดา ลูกสะใภ้ = พระสุณิสา

4. หมวดกริยา

ไป = เสด็จพระราชดำเนิน กิน = เสวย
นอน = บรรทม สบาย = ทรงพระสำราญ
ป่วย = ทรงพระประชวร ตัดผม = ทรงเครื่องใหญ่
่อ่านหนังสือ = ทรงพระอักษร ดู = ทอดพระเนตร
รัก = โปรด หัวเราะ = ทรงพระสรวล
กั้นร่มให้ = อยู่งานพระกลด ให้ = พระราชทาน

5. หมวดคำที่ใช้กับพระสงฆ์

เชิญ = นิมนต์ ไหว้ = นมัสการ
กิน = ฉัน นอน = จำวัด
สวดมนต์ = ทำวัตร โกนผม = ปลงผม
อาบน้ำ = สรงน้ำ ขอโทษ = ขออภัย
บิดา , มารดา = โยม ผู้หญิง = สีมา
ปวย = อาพาธ ตาย = ถึงแก่มรณภพ
ยา = โอสถ เรือน , ที่พัก = กุ ฎิ
บวช = บรรพชา นักบวช = บรรพชิต

คำราชาศัพท์

Posted by Sea Pearl

คำราชาศัพท์ คือ คำสุภาพที่ใช้ให้เหมาะสมกับฐานะของบุคคลต่างๆ คำราชาศัพท์เป็นการกำหนดคำและภาษาที่สะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรมอันดีงามของไทย แม้คำราชาศัพท์จะมีโอกาสใช้ในชีวิตน้อย แต่เป็นสิ่งที่แสดงถึงความละเอียดอ่อนของภาษาไทยที่มีคำหลายรูปหลายเสียงในความหมายเดียวกัน และเป็น ลักษณะพิเศษของภาษาไทย โดยเฉพาะ ซึ่งใช้กับบุคคลกลุ่มต่างๆ ดังต่อไปนี้
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ
พระบรมวงศานุวงศ์
พระภิกษุสงฆ์ สามเณร
ขุนนาง ข้าราชการ
สุภาพชน
บุคคลในกลุ่มที่ 1 และ 2 จะใช้ราชาศัพท์ชุดเดียวกัน เช่นเดียวกับบุคคลในกลุ่มที่ 4 และ 5 ก็ใช้คำราชาศัพท์ในชุดเดียวกันและเป็นคำราชาศัพท์ที่เราใช้อยู่เป็นประจำในสังคมมนุษย์เราถือว่าการให้เกียรติแก่บุคคลที่เป็นหัวหน้าชุมชน หรือผู้ที่ชุมชนเคารพนับถือนั้น เป็นวัฒนธรรมอย่างหนึ่งของมนุษยชาติ ทุกชาติ ทุกภาษา ต่างยกย่องให้เกียรติแก่ผู้เ ป็นประมุขของชุมชนด้วยกันทั้งสิ้น ดังนั้นแทบทุกชาติ ทุกภาษาจึงต่างก็มี คำสุภาพ สำหรับใช้กับประมุขหรือผู้ที่เขาเคารพนับถือ จะมากน้อยย่อมสุดแต่ขนบประเพณีของชาติ และจิตใจของประชาชนในชาติว่ามีความเคารพในผู้เป็นประมุขเพียงใด เมืองไทยเราก็มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของชาติ และพระประมุขของเรา แต่ละพระองค์ทรงพระปรีชาสามารถ จึงทำให้ประชาชนส่วนใหญ่มีความ เคารพสักการะอย่างสูงสุดและมีความจงรกภักดีอย่างแนบแน่นตลอดมานับตั้งแต่โบราณกาลจนถึงปัจจุบันคำราชาศัพท์เริ่มมีมาตั้งแต่สมัยใด
ในแหล่งอ้างอิงบางฉบับได้ให้ข้อสันนิษฐานไว้ว่า คนไทยเริ่มใช้คำราชาศัพท์ในรัชสมัยพระธรรมราชาลิไท พระร่วงองค์ที่ 5 แห่งสุโขทัย เพราะศิลาจารึกต่างในแผ่นดินนั้น รวมทั้งบทพระราชนิพนธ์ของท่าน คือ ไตรภูมิพระร่วง ปรากฏว่ามีคำราชาศัพท์อยู่หลายคำ เช่น ราชอาสน์ พระสหาย สมเด็จ ราชกุมาร เสด็จ บังคม เสวยราชย์ ราชาภิเศก เป็นต้น
บางท่านกล่าวว่า คำราชาศัพท์นั้นเริ่มใช้ในสมัยกรุงศรีอยุธยา เพราะพระปฐมบรมกษัตริย์ที่ทรงสร้างกรุงศรีอยุธยา ทรงนิยมเขมร ถึงกับเอาลัทธิและภาษาเขมรมาใช้ เช่น เอาคำว่า "สมเด็จ" ซึ่งเขมรใช้เป็นคำนำพระนามพระเจ้าแผ่นดินมาเป็นคำนำพระนามของพระองค์ และใช้ภาษาเขมรเป็นราชาศัพท์
และจากหลักฐานที่พบข้อความในศิลาจารึกวัดศรีชุม กล่าวถึงเรื่องตั้งราชวงศ์และเมืองสุโขทัยตอนหนึ่งมีความว่า "พ่อขุนผาเมืองจึงอภิเสกพ่ขุนบางกลางหาวใหเมืองสุโขไท" คำว่า "อภิเษก" นี้เป็นภาษาสันสกฤต ไทยเรารับมาใช้สำหรับพิธีการแต่งตั้งตำแหน่งชั้นสูง จึงอยู่ในประเภทราชาศัพท์ และพิธีนี้มีมาตั้งแต่ราชวงศ์สุโขทัย จึงน่าสงสัยว่าในสมัยนั้นอาณาจักรสุโขทัยนี้ ก็คงจะมีการใช้คำราชาศัพท์บางคำกันแล้ว

หินและการเปลี่ยนแปลง

Posted by Sea Pearl

หิน เกิดจากการรวมตัวของแร่ธาตุและสารต่างๆบนพื้นผิวโลก แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ

1. หินอัคนี เกิดจากการหลอมเหลวภายใต้เปลือกโลก และไหลออกมาตามรอยแยกของเปลือกโลก เมื่อเกิด ภูเขาไฟระเบิด ซึ่งต่อมาเย็นตัวกลายเป็นก้อนแข็งเช่น
- หินแกรนิต เนื้อหินเป็นผลึกขนาดใหญ่ มีความแวววาว มีความแข็ง นิยมใช้ก่อสร้างอาคาร
- หินบะซอลต์ เนื้อมีสีคล้ำ ไม่มีความแวววาว เนื้อหินละอียด มีรูพรุน นิยมใช้ก่อสร้าง
- หินพัมมิซ เนื้อหินแข็งและสาก มีรูพรุน น้ำหนักเบา สามารถลอยน้ำได้ นิยมใช้ทำวัสดุขัดถู
- หินออบซิเดียน เนื้อหินมีลักษณะเหมือนแก้ว มีสีดำ สีเรียบ นิยมใช้ทำอาวุธโบราณ

2. หินชั้น (หินตะกอน) คือหินที่เกิดจากการทับถามของซากพืช-ซากสัตว์ และตะกอนต่างๆ ถูกกระแสน้ำ กระแสลมพัดพา เมือสะสมหรือถูกแรงอัดนานๆก็จะแน่นกลายเป็นหิน และพบร่องรอยของฟอสซิล
- หินทราย ประกอบด้วยทรายเกาะกันแน่น นิยมใช้ทำหินลับมีดและก่อสร้าง
- หินกรวด เกิดจากรวด ทราย ทับถมกัน นิยมใช้ทำถนนหรือหินประดับ
- หินปูน เกิดจากเปลือกหอย หรือซากสัตว์เล็กๆ ทับถมกันใต้ทะเล บางก้อนจะมีหอยทะเลติดอยู่ นิยมใช้ทำปูนขาว และผสมคอนกรีต
- หินดินดาน เกิดจากการทับถมของโคลนและดินเหนียว ซึ่งมีลักษณะเป็นชั้นบางๆ กระเทาะเป็นแผ่นได้ง่าย เหมาะสำหรับใช้ทำปูนซีเมนต์ อุตสาหกรรมดินเผาและเซรามิก

3. หินแปร คือหินที่เปลี่ยนแปลงจากหินอัคนีหรือหินชั้น เพราะถูกความร้อน ความกดดันภายในโลก
- หินชนวน แปรสภาพมาจากหินดินดาน เนื้อละเอียด ผิวเรียบ ใช้ทำกระดานชนวน ทำแผ่นอิฐปูทางเดิน
- หินอ่อน แปรสภาพมาจากหินปูน มีสีขาว นิยมใช้ทำหินประดับอาคารและแกะสลัก
- หินไนส์ แปรสภาพมาจากหินแกรนิต มีความแข็งแรงและทนทานมาก นิยมใช้ทำโม่และครก
- หินควอร์ตไซต์ แปรสภาพมาจากหินทราย มีลักษณะเป็นเม็ด ทำกรวดคอนกรีต หินอัดเม็ด และวัสดุทนไฟ